กังหันชัยพัฒนา? กังหันบำบัดน้ำเสีย ?สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย? เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำแก่ปวงชน
ด้วยการหมุนปั่นเพื่อเติมอากาศให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี สามารถประยุกต์ใช้บำบัดน้ำเสียจากการ
อุปโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มออกซิเจนให้กับบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์
น้ำทางการเกษตร คนไทยคงคุ้นกับภาพของกังหันน้ำที่มีโครงเป็นรูปเหลี่ยมบนทุ่นลอย และมีซองตักวิดน้ำซึ่งเจาะเป็นรูพรุน เรา
จึงเห็นสายน้ำพรั่งพรูจากซองวิดน้ำขณะที่กังหันหมุนวนเวียนซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทุกครั้งที่น้ำถูกตักขึ้นมาออกซิเจนใน
อากาศจะละลายในน้ำได้ดีขึ้น เพราะพื้นที่ในการทำปฏิกิริยามีมากกว่าเดิม ทำให้น้ำเสียซึ่งเป็นปัญหาของแหล่งน้ำ
ในหลายพื้นที่มีคุณภาพที่ดีขึ้น ขณะที่น้ำตกลงในผิวน้ำจะทำให้เกิดฟองอากาศจมลงไปใต้ผิวน้ำ จึงเป็นการถ่ายเท
ออกซิเจนให้กับน้ำอีกต่อหนึ่ง
?กังหันน้ำชัยพัฒนา? หรือเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย ซึ่งประกอบด้วยซองวิดน้ำ 6 ซอง
แต่ละซองจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ห้องเท่าๆ กัน ทั้งหมดถูกติดตั้งบนโครงเหล็ก 12 โครงใน 2 ด้าน มีศูนย์กลางของ
กังหันที่เรียกว่า "เพลากังหัน" ซึ่งวางตัวอยู่บนตุ๊กตารองรับเพลาที่ติดตั้งอยู่บนทุ่นลอย และมีระบบขับส่งกำลังด้วย
เฟืองจานขนาดใหญ่อยู่บนโครงเหล็กที่ยึดทุ่นทั้ง 2 ด้านเข้าไว้ด้วยกัน ด้านล่างของกังหันในส่วนที่จมน้ำจะมีแผ่น
ไฮโดรฟอยล์ยึดปลายของทุ่นลอยด้านล่าง
การเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำจะช่วยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสิ่งสกปรกในน้ำเสีย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็น
กระบวนการทางชีวภาพที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและใช้
ค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียน้อย และแหล่งน้ำเสียที่กระจายไปตามแหล่งต่างๆ จึงทำให้ยากแก่การรวบรวมน้ำ
เสียเพื่อนำไปบำบัดในโรงบำบัดน้ำเสีย และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง
?กังหันน้ำชัยพัฒนา? คือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเกิดจากพระปรีชาสามารถและพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัว เพื่อการแก้มลพิษทางน้ำซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งสร้างเครื่องต้นแบบได้ครั้งแรกในปี
2532 วิวัฒนาการของกังหันน้ำชัยพัฒนานั้น เริ่มจากการสร้างต้นแบบแล้วนำไปติดตั้งยังพื้นที่ทดลองเพื่อแก้
ปัญหาไปพร้อมๆ กัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการวิจัยและพัฒนา
กังหันน้ำ ซึ่งโครงสร้างและส่วนประกอบในส่วนที่เป็นปัญหาได้รับการแก้ไขมาโดยตลอดนับแต่มีการสร้างเครื่อง
ต้นแบบ
ในด้านโครงสร้างนั้นได้พัฒนาให้กังหันน้ำหมุนด้วยความเร็ว 1,450 รอบต่อนาที โดยที่ซองตักน้ำหมุนด้วย
ความเร็ว 5 รอบต่อนาที ขับด้วยมอเตอร์ขนาด 2 แรงม้า และมีการปรับปรุงโครงสร้างในรูปแบบต่างๆ เช่น ออก
แบบตัวเครื่องให้สามารถขับเคลื่อนด้วยคนเพื่อใช้ในแหล่งน้ำที่ไฟฟ้ายังเข้าไปไม่ถึง เป็นต้น ด้าน
ประสิทธิภาพสามารถถ่ายเทออกซิเจนลงน้ำได้ 0.9 กิโลกรัมต่อแรงม้า-ชั่วโมง และมีการพัฒนาให้ถ่ายเท
ออกซิเจนได้ 1.2 กิโลกรัมต่อแรงม้า-ชั่วโมง
กังหันน้ำชัยพัฒนา ได้รับสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ 2 ก.พ.2536 หลัง จากเลขาธิการ
มูลนิธิชัยพัฒนาซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่สนองพระราชดำริในการ พัฒนากังหันน้ำได้รับพระราชทานพระบรมราชานุ
ญาตให้ยื่นขอรับสิทธิบัตรเมื่อ วันที่ 2 มิ.ย.2535 จึงนับว่าเป็นสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
พระองค์แรกของไทย และครั้งแรกของโลก และถือว่าวันที่ 2 ก.พ.ของทุกปีเป็น ?วันนักประดิษฐ์? นับแต่นั้นเป็น
ต้นมา ?กังหันชัยพัฒนา? ยังได้รับรางวัลเหรียญทองจาก The Belgian Chamber of Inventor องค์กรทางด้าน
นวัตกรรมที่เก่าแก่ของเบลเยียม ภายในงาน ?Brussels Eureka 2000? ซึ่งเป็นงานแสดงสิ่งประดิษฐ์ใหม่
ของโลกวิทยาศาสตร์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพ่อของแผ่นดิน เป็นหัวใจของข้าแผ่นดินไทยทุกหมู่เหล่าทรงอุทิศ
พระองค์เพื่อความผาสุขของ ประชาชน สายสัมพันธ์อันอบอุ่นลึกซึ้งเช่นนี้คงไม่มีที่ใดในโลกแล้วนอกจากเมือง
ไทย ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
วนิดา พฤกษอาภรณ์